เมนู

ไม่อาจจะอดทนอยู่ได้ จึงออกไป ด้วยคิดว่า " ทีนี้แหละ นางไม่เป็น
ของเราละ" ดังนี้แล้ว ด่าอุบาสิกาและพระศาสดาโดยประการต่าง ๆ ว่า
" อีกาลกิณี มึงเป็นคนฉิบหาย. มึงจงทำสักการะนี้แก่สมณะนั่นเถิด"
ดังนี้เป็นต้น หนีไปแล้ว.

อุบาสิกามีจิตฟุ้งซ่าน


อุบาสิกาละอาย เพราะถ้อยคำของอาชีวกนั้น ไม่อาจจะส่งจิตซึ่ง
ถึงความฟุ้งซ่าน1 ไปตามกระแสแห่งเทศนาได้.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "อุบาสิกา เธอไม่อาจทำจิต
ให้ไปตาม ( แนว ) เทศนาได้หรือ ?"
อุบาสิกา. พระเจ้าค่ะ เพราะถ้อยคำของอาชีวกนี้ จิตของข้า-
พระองค์ เข้าถึงความฟุ้งซ่านเสียแล้ว .
พระศาสดา ตรัสว่า "ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำที่ชนผู้ไม่เสมอภาค
กันเห็นปานนี้กล่าว, การไม่คำนึงถึงถ้อยคำเห็นปานนี้แล้ว ตรวจดูกิจ
ที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้นจึงควร" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
6. น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขตยฺย กตานิ อกตานิ จ.
"บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้
ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคน
เหล่าอื่น, พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของตนเท่านั้น."

1. อญฺญถตฺตํ แปลตามศัพท์ว่า ซึ่งความเป็นอย่างอื่น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า น ปเรสํ วิโลมานิ
ความว่า ไม่ควรทำคำแสยงขน คือคำหยาบ ได้แก่คำตัดเสียซึ่งความรัก
ของตนเหล่าอื่นไว้ในใจ.
บาทพระคาถาว่า น ปเรสํ กตากตํ ความว่า ไม่ควรแลดู
กรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำแล้ว ของคนเหล่าอื่น อย่างนั้นว่า " อุบาสก
โน้น ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส, แม้วัตถุมีภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้น
ในเรือน เขาก็ไม่ให้, สลากภัตเป็นต้น เขาก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมี
จีวรเป็นต้น ไม่มีแก่อุบาสกนั่น; อุบาสิกาโน้นก็เหมือนกัน ไม่มี
ศรัทธา ไม่เลื่อมใส, ภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้น ในเรือน นางก็ไม่ให้,
สลากภัตเป็นต้นก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ก็ไม่มีแก่อุบาสิกา
นั้น. ภิกษุโน้นก็เช่นกัน ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทั้งไม่ทำอุปัชฌายวัตร,
ไม่ทำอาจริยวัตร, ไม่ทำอาคันตุกวัตร, ไม่ทำวัตรเพื่อภิกษุผู้เตรียมจะไป,
ไม่ทำวัตรที่ลานพระเจดีย์. ไม่ทำวัตรในโรงอุโบสถ. ไม่ทำวัตรที่หอฉัน,
ไม่ทำวัตรมีวัตรในเรือนไฟเป็นอาทิ, ทั้งธุดงค์ไร ๆ ก็ไม่มีแก่เธอ แม้
เหตุสักว่าความอุตสาหะ เพื่อความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ก็ไม่มี."
บาทพระคาถาว่า อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย ความว่า กุลบุตร
ผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อระลึกถึงโอวาท1นี้ว่า "บรรพชิต พึงพิจารณา
เนือง ๆ ว่า 'วันคืนล่วงไป ๆ เราทำอะไรอยู่" ดังนี้แล้ว ก็พึงแลดูกิจ
ที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนอย่างนั้นว่า "เราไม่อาจจะยกตนขึ้นสู่
ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วทำให้เกษมจากโยคะ
1. อัง. ทสก. 24/92.